หน้าแรก

ยินดีต้อนรับ สู่บ้านท่าเรือ

 

บ้านท่าเรือเป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอาทิ พิณ,แคน,โหวด,โปงลาง,กลองอีสานและสินค้าโอท็อปอื่นๆอีกมากมายสำหรับท่านที่เข้ามาชมเว็บของเราจะไม่ผิดหวังสินค้าในเว็บเราเป็นสินค้าจากแหล่งผลิตโดยตรงท่านจึงมันใจว่าสินค้าในเว็ปเราเป็นสินค้าที่มีคุณภาพและราคาถูกกว่าที่อื่น

คำขวัญประจำ
หมู่บ้านท่าเรือคือ

แคน พิณ โหวด หลากหลาย ผ้าไหมสวยงาม วัฒนธรรมล้ำค่า ภาษาเฉพาะ ไพเราะเสียงดนตรี

ผลิตภัณฑ์แนะนำ

ช่างทำแคนคนแรกของบ้านท่าเรือ

. นายโลน แสนสุริยวงศ์ ช่างทำแคนคนแรกของบ้านท่าเรือ เป็นบุตรของนายชิน นางมั่น แสนสุริยวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๑ 

สินค้าดี สินค้ามีคุณภาพ

โหวด

โหวด เดิมใช้แกว่งเล่นเหมือน "สนู" ต่อมาได้ดัดแปลงมาเป็นเครื่องดนตรีของวงดนตรีพื้นเมืองวงโปงลาง

เครื่องดนตรีประกอบจังหว่ะ

เครื่องดนตรีประกอบจังหว่ะที่ใช้ในวงโปงลาง,วงกลองยาว ของดนตรีอีสาน

ไหซอง

ใหซอง เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน ใช้ประกอบจังหว่ะชนิดหนึ่งของวงโปงลาง โดยเสียงที่ได้มาจากสายหนังสติกที่รัดปากใหไว้ ส่วนมากจะใช้ประกอบการฟ้อนรำมากก

ของที่ระรึก

เป็นสินค้าทำมาจากวัสดุเหลือจากการทำ พิณ,แคน,โหวด,โปงลาง, จึงดัดแปลงมาเป็นของที่ระรึกต่างๆ เป็นสินค้า otop อีกอย่างหนึ่งของชาวบ

แคน

แคน เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานที่เก่าแก่ชนิดหนึ่งของโลกที่ให้เสียงที่ไพเราะ นิยมนำมาเป่าในวงโปงลาง และกับวงดนตรี

กลองยาวอีสาน

กลองยาวอีสาน กลองยาวอีสานไม่เหมือนกับกลองยาวภาคกลาง เพราะกลองยาวอีสานนั้นทำมาจากหนังวัวที่หนากว่าโดยไม่เจียให้บาง จึงทำให้เสียงดังกังวาน

ช่างทำแคนคนแรกของบ้านท่าเรือ

. นายโลน แสนสุริยวงศ์ ช่างทำแคนคนแรกของบ้านท่าเรือ เป็นบุตรของนายชิน นางมั่น แสนสุริยวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๑ ที่บ้านยอดชาติ อ.นาแก จ.นครพนม เมื่อยังเด็กได้เดินทางติดตามพ่อแม่มาอยู่ที่บ้านท่าเรือ พออายุได้ ๑๕ ปี ก็กลับไปอยู่ที่บ้านยอดชาติ และได้ชวนเพื่อนอีก ๒ คนไปด้วย คือนายลอง และนายไกร  แมดมิ่งเหง้า ขณะอยู่ที่บ้านทั้ง ๓ คน ได้เรียนวิชา ทำปี่ ทำแคน เครื่องดนตรีอีสาน จากนายเสน พี่ชายของนายโลน ซึ่งไปเรียนมาจากช่างบ้านพะนอม อ.ท่าอุเทน และช่างบ้านโนนตูม อ.นาแก ต่อมาทั้ง ๓ คน ก็ได้กลับมาอยู่ที่บ้านท่าเรือ อีกครั้งและได้ทำปี่ ทำแคน เป็นอาชีพหลัก จนเป็นที่ยอมรับของคนทั้งหมู่บ้าน จึงประสิทธิประสาทวิชาการ ทำปี่ ทำแคน ให้ลูกหลานของเพื่อนๆ และถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน การผลิตเครื่องดนตรีพื้นบ้านของบ้านท่าเรือ เป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้ชาวบ้านได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องออกไปทำงานนอกหมู่บ้านก็มีกินมีใช้

ประวัติ และความเป็นมาของบ้านท่าเรือ แต่เดิม ชาวบ้านท่าเรือ เป็นคนลาวในจังหวัดอุบลราชธานี บริเวณบ้านไร่อีเป (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดอำนาจเจริญ) ซึ่งมีสภาพพื้นที่แห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำ ทำไร่ทำนาไม่ได้ผล นายไชยราช และนายศรีวงษา หัวหน้าหมู่บ้าน จึงรวบรวมสมัครพรรคพวกกว่า ๓๐ คน อุ้มลูก จูงหลาน เดินทางด้วยเกวียนผ่านลำน้ำก่ำ ลำน้ำสงคราม จนมาพบชุมชนบ้านนาซ่อม จึงพักอาศัยอยู่ที่นั่น พากันออกจับจองที่ดินเป็นที่ทำกิน และไปพบลำห้วยบ่อกอก (หรือห้วยกอก) มีโนนดินเรียกว่า โนนขาว โนนสูง โนนแต้ ซึ่งในหน้าฝนจะมีน้ำมาก แต่หน้าแล้งน้ำจะแห้งเกิดเป็นขี้เกลือสินเธาว์ ชาวบ้านจึงพากันนำขี้เกลือผสมน้ำ แล้วต้มให้แห้งเป็นเกลือ ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร และนำไปขาย ปี ๒๔๔๕ หัวหน้าหมู่บ้านไปพบโคกหนองแต้ อยู่ห่างจากบ้านนาซ่อมไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๑ กิโลเมตร สภาพพื้นที่เป็นป่าไม้เต็งรัง อยู่ใกล้กับห้วยบ่อเกลือ ห้วยหนองเรือ เหมาะที่จะตั้งเป็นหมู่บ้าน จึงแยกตัวออกมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่โคกหนองแต้ เรียกชื่อหมู่บ้านตามหลักฐานที่ปรากฏว่า“บ้านหนองแต้”หรือ“บ้านแต้”เพราะมีต้นหมากแต้ ต้นไม้ใหญ่ ใบหนา กับหนองน้ำเล็กๆ อยู่ด้วยกัน จากนั้นได้แต่งตั้งนายไชยราช และนายศรีวงษา เป็นหัวหน้าหมู่บ้าน และได้สร้างวัดศรีโพธิ์ชัย เป็นวัดประจำหมู่บ้าน โดยมีหลวงพ่อชิน เป็นเจ้าอาวาสคนแรก ในหน้าฝนจะมีเรือขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “เรือกระแซง” บรรทุกสินค้ามาจอดเทียบท่าที่ห้วยหนองเรือเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้ากันเป็นเวลาหลายคืน ชาวบ้านจึงเรียกสถานที่แห่งนั้นว่า “หนองเรือ” หรือ “ท่าเรือ” ต่อมาในปี ๒๔๙๓ นายเหลี่ยม บินศรี ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านได้ประชุมร่วมกับชาวบ้านและมีมติให้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านจาก “บ้านแต้” เป็น “บ้านท่าเรือ” มาจนถึงปัจจุบัน ช่างทำแคนคนแรกของบ้านท่าเรือ นายโลน แสนสุริยวงศ์ ช่างทำแคนคนแรกของบ้านท่าเรือ เป็นบุตรของนายชิน นางมั่น แสนสุริยวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๔๕๑ ที่บ้านยอดชาติ อ.นาแก จ.นครพนม เมื่อยังเด็กได้เดินทางติดตามพ่อแม่มาอยู่ที่บ้านท่าเรือ พออายุได้ ๑๕ ปี ก็กลับไปอยู่ที่บ้านยอดชาติ และได้ชวนเพื่อนอีก ๒ คนไปด้วย คือนายลอง และนายไกร แมดมิ่งเหง้า ขณะอยู่ที่บ้านทั้ง ๓ คน ได้เรียนวิชา ทำปี่ ทำแคน เครื่องดนตรีอีสาน จากนายเสน พี่ชายของนายโลน ซึ่งไปเรียนมาจากช่างบ้านพะนอม อ.ท่าอุเทน และช่างบ้านโนนตูม อ.นาแก ต่อมาทั้ง ๓ คน ก็ได้กลับมาอยู่ที่บ้านท่าเรือ อีกครั้งและได้ทำปี่ ทำแคน เป็นอาชีพหลัก จนเป็นที่ยอมรับของคนทั้งหมู่บ้าน จึงประสิทธิประสาทวิชาการ ทำปี่ ทำแคน ให้ลูกหลานของเพื่อนๆ และถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน การผลิตเครื่องดนตรีพื้นบ้านของบ้านท่าเรือ เป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้ให้ชาวบ้านได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ต้องออกไปทำงานนอกหมู่บ้านก็มีกินมีใช้ นายโลน ช่างทำแคนที่ทำแคนดี ดัง และสวย ถึงแก่กรรมเมื่อปี ๒๕๒๓ รวมอายุได้ ๘๒ ปี คำขวัญประจำหมู่บ้านท่าเรือ แคน พิณ โหวด หลากหลาย ผ้าไหมสวยงาม วัฒนธรรมล้ำค่า ภาษาเฉพาะ ไพเราะเสียงดนตรี

ดนตรีพื้นบ้านภาคอีสาน เป็นดนตรีประจำภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีประวัติความเป็นมานับพันปี และสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อการดำรงเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมพื้นบ้านไว้ให้มั่นคง การผลิตเครื่องดนตรีพื้นบ้านจึงมีการเรียนการสอนภายในชุมชน และจำหน่ายให้บุคคลที่สนใจในดนตรีพื้นบ้านอีสานและยังสามารถใช้เป็นของฝากประจำภาคอีสานด้วย

อย่างไรก็ตามเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน ยังขาดการนำเสนอข้อมูลข่าวสารหรือแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน จึงไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปนัก รวมถึงช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตพันธ์เครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานที่ยังเข้าถึงได้ยากไม่เป็นที่รู้จัก และแหล่งผลิตยังอยู่ในชุมชน        ที่ห่างไกล จึงเกิดปัญหาในการเดินทางที่ไม่สะดวก

จากปัญหาข้างต้นเพื่อเป็นการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย คณะผู้จัดทำโครงงานได้เล็งเห็นความสำคัญที่จะพัฒนาด้านการตลาดให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่ายสะดวกและรวดเร็วด้วยระบบขายสินค้าออนไลน์(E-Commerce) ซึ่งจะอำนวยความสะดวกสบายและเพิ่มช่องทางการเข้าถึงสินค้าให้แก่ผู้ที่สนใจได้เป็นอย่างดีและยังสามารถเรียนรู้ถึงประวัติความเป็นมาและข้อมูลข่าวสารต่างๆ ของเครื่องดนตรีพื้นบ้านไทยอีสานได้อย่างเป็นปัจจุบันและเผยแผ่ให้เป็นที่รู้จักในสังคมมากขึ้น