พิณ

พิณพื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น ซุง หมากจับปี่ มากต้องโต่งและหมากตับแต่ง มีสายตั้งแต่ 2 – 4 สาย ชนิดที่มี 4 สาย ก็คล้ายกับซึงของภาคเหนือ แต่ปลายกะโหลกพิณป้านกว่า พิณพื้นเมืองภาคนี้ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งประดิษฐ์ขึ้นอย่างง่าย ๆ ไม่สู้จะประณีตนัก ใช่เล่น เดี่ยว หรือเล่นร่วมกับวงแคน และโปงลาง
แคน
แคน เป็นเครื่องเป่าพื้นเมืองของชาวอีสานเหนือที่ใช้ไม้ซางขนาดต่าง ๆ ประกอบกันเข้าเป็นตัวแคน แคนเป็นสัญลักษณ์ของภาคอีสาน เป็นเครื่องเป่ามีลิ้นโลหะ เสียงเกิดจากลมผ่านลิ้นโลหะไปตามลำไม้ที่เป็นลูกแคน การเป่าแคนต้องใช้ทั้งเป่าลมเข้าและดูดลมออกด้วย จึงเป่ายากพอสมควร แคนมีหลายขนาด บางขนาดมีเสียงประสานอยู่ด้วย
ใครเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่เรียกว่า “แคน” เป็น คนแรก และทำไมจึงเรียกว่า “แคน” นั้น ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนยืนยันได้


โหวด
โหวต เป็นเครื่องดนตรีไทยภาคอีสานประเภทเครื่องเป่า มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก ทำจากไม้กู่แคนซึ่งเป็นไม้ซางชนิดเดียวกับที่ใช้ทำแคน มีลักษณะคล้ายกับเครื่องดนตรีกรีกโบราณ ที่เรียกว่า “Pan Pipe”
โหวดเป็นเครื่องดนตรีประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
ผู้คิดค้นพัฒนาให้โหวดมีลักษณะแบบที่เห็นในปัจจุบันคือ นายทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ อาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
กลองยาว


กลองยาว เป็นเครื่องดนตรี สำหรับตีด้วยมือ ตัวกลองทำด้วยไม้ มีลักษณะกลมกลวง ขึงด้วยหนังมีหลายชนิด ถ้าทำด้วยหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมากใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่ากลองยาวหรือเถิดเทิง
ประวัติกลองยาว
เชื่อกันว่ากลองยาวได้แบบอย่างมาจากพม่า ในสมัยกรุงธนบุรี หรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยที่ไทยกับพม่ากำลังทำสงครามกัน เวลาพักรบ พวกทหารพม่าก็เล่น “กลองยาว” กันสนุกสนาน พวกชาวไทยได้เห็นก็จำแบบอย่างมาเล่นบ้าง แต่บางท่านก็เล่าว่า กลองยาวของพม่าแบบนี้ มีชาวพม่าพวกหนึ่งนำเข้ามาเล่นในงานที่มีกระบวนแห่ เช่น บวชนาค ทอดกฐิน เป็นต้น และนิยมเล่นกันเป็นที่รื่นเริง สนุกสนานในเทศกาลสงกรานต์ และเล่นกันแพร่หลายไปแทบทุกหัวบ้านหัวเมือง วงหนึ่งๆ จะใช้กลองยาวหลายลูกก็ได้ เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงร่วม มี ฉิ่ง, ฉาบเล็ก, กรับ, โหม่ง เรียกการเล่นชนิดนี้ว่า “เถิดเทิง” หรือ “เทิงกลองยาว” ที่เรียกเช่นนี้เข้าใจว่า เรียกตามเสียงกลองที่ตีและตามรูปลักษณะกลองยาว
โปงลาง
เป็นเครื่องตี ทำด้วยไม้ร้อยต่อกันจำนวน 12 ท่อนด้วยเชือกเป็นผืน แต่ละท่อนมีขนาด และความยาวลดหลั่นกันตามลำดับ จากใหญ่ลงมาเล็ก เวลาเล่นใช้ด้านใหญ่
(ด้านบน) แขวนกับกิ่งไม้ หรือไม้ขาตั้ง ด้านเล็ก (ด้านล่าง) ใช้เท้าผู้เล่น หรือทำที่
เกี่ยวยึดไว้ มักใช้ผู้เล่น 2 คน คนหนึ่งเล่นทำนองเพลงเรียก “หมอเคาะ” อีกคนหนึ่งทำ
หน้าที่เคาะประสานเสียงทำจังหวะเรียก “หมอเสิร์ฟ” โปงมีเสียง 5 เสียง คือ โด เร มี
ซอล ลา ไม่มีเสียง ฟาและที
